เมนู

เหตุผลที่ใช้อภิกกันตศัพท์ 2 ครั้ง


(นักปราชญ์ได้กล่าวคาถาประพันธ์นี้ไว้ว่า)
ท่านผู้รู้พึงทำการกล่าวซ้ำ ใน (คำพูดแสดง) ความ
กลัว (ภเย) ความโกรธ ( โกเธ ) การสรรเสริญ
(ปสํสายํ) ความรีบด่วน ( ตุริเต) ความตื่นเต้น
(โกตุหเล) ความอัศจรรย์ใจ (อจฺฉเร) ความ
ร่าเริงยินดี (หาเส) ความโศก (โสเก) และ
ความเลื่อมใส (ปาสาเท).

และด้วยลักษณะ (เหตุผลดังว่ามา) นี้ อภิกกันตศัพท์นี้พึงทราบว่า
พราหมณ์กล่าวไว้ถึง 2 ครั้งในที่นี้ ก็ด้วยอำนาจความเลื่อมใสและความ
สรรเสริญ.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อภิกฺกนฺตํ แปลว่า น่าใคร่อย่างยิ่ง
คือน่าปรารถนาอย่างยิ่ง อธิบายว่า น่าพอใจอย่างยิ่ง คือ ดียิงนัก. ใน
อภิกกันตศัพท์ทั้ง 2 นั้น พราหมณ์ชมเชยเทศนาด้วย อภิกกันตศัพท์
(ที่มีความหมาย) อย่างหนึ่ง ประกาศความเลื่อมใสของตนด้วยอภิกกันต-
ศัพท์ (ที่มีความหมาย) อีกอย่างหนึ่ง.
ก็ในความหมายทั้ง 2 นี้มีอธิบายดังนี้ว่า พระธรรมเทศนาของ
พระโคดมผู้เจริญ น่าจับใจยิงนัก ความเลื่อมใสของข้าพระองค์อาศัย
ธรรมเทศนาของพระโคดมผู้เจริญก็น่าพอใจยิ่งนัก หรือไม่ก็พราหมณ์นี้
มุ่งใช้ความหมายทั้ง 2 (ไปในการ) ชมเชยพระดำรัสของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
อย่างเดียว. (คือชมเชยว่า) พระดำรัสของพระโคดมผู้เจริญ